RSS

Author Archives: kattiyaboonya

About kattiyaboonya

ขัติยะ บุญญา

การสร้างเสริมสมรรถภาพ

การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

สมรรถภาพทางกายเป็นความสามารถของบุคคลในอันที่จะใช้ระบบต่างๆ กระทำกิจกรรมใดๆ อันเกี่ยวกับการแสดงออกซึ่งความสามารถทางร่างกายได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาวะปกติได้ในเวลาอันรวดเร็ว เราจะทราบได้ว่าเรามีสมรรถภาพทางกายในด้านในมากหรือน้อย ก็โดยการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้วย แบบทดสอบมาตรฐาน เมื่อเรามีสมรรถภาพทางกายในด้านใดน้อย เราก็สามารถเสริมสร้างขึ้นมาได้ด้วยการกำหนดการฝึกหรือออกกำลังกายต่อไป

การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย เป็นการปรับปรุงสภาวะของร่างกายให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่สูง และมีการประสานงานกันของระบบต่างๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี

ความสำคัญและความจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

ปัจจัยที่ทำให้คนเราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุข ได้แก่ อาหาร น้ำ อากาศ แสงแดด การออกกำลังกาย การพักผ่อน และสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ จะเห็นได้ว่าการออกกำลังกายนับเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะเป็นกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวอันเป็นบ่อเกิดแห่งพัฒนาการด้านต่างๆ

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มนุษย์ได้รับความสะดวดสบายยิ่งขึ้น ผลทางมุมกลับที่เกิดขึ้นก็คือ การขาดการออกกำลังกาย ซึ่งความเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะตามมา เช่น ความอ้วน โรคความดันเลือดสูง โรคเกี่ยวกับหัวใจ เป็นต้น

การออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยเพิ่มพูนสมรรถภาพทางกายแล้ว ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีก เช่น รูปร่างดีขึ้น ชะลอความเสื่อมของอวัยวะ ช่วยให้ผู้มีอาการผิดปกติมีอาการดีขึ้น ระบบขับถ่ายดีขึ้น นอนหลับได้ดีขึ้น พลังทางเพศดีขึ้น หัวใจ ปอดและหลอดเลือดทำหน้าที่ได้ดีขึ้น ช่วยให้อาการของโรคหลายโรคดีขึ้น ช่วยให้ตั้งครรภ์และคลอดได้ง่ายขึ้น ช่วยประหยัดค่ารักษาพยาบาลเพราะมีแอนติบอดีสูง สรุปแล้วก็คือความมีสุขภาพดีนั่นเอง

ประเภทของการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายมีหลายลักษณะ ในที่นี้จะแบ่งตามลักษณะวิธีฝึกได้ดังนี้

  • การออกกำลังกายแบบไอโซเมตริก (Isometric Exercise) เป็นการออกกำลังกาย โดยการเกร็งกล้ามเนื้อ โดยไม่มีการเคลื่อนไหวส่วนใดๆ ของร่างกาย ได้แก่ การเกร็งกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งสักครู่ แล้วคลายและเกร็งใหม่ทำสลับกันหรือการออกแรงดันดึงวัตถุที่ไม่เคลื่อนไหว เช่น การดันกำแพง ดันวงกบประตู หรือพยายามยกเก้าอี้ตัวที่เรานั่งอยู่ เป็นต้น
  • การออกกำลังกายแบบไอโซทอนิก (Isotonic Exercise) เป็นการออกกำลังกายต่อสู้กับแรงต้านทาน โดยให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวหรือคลายตัวด้วย ซึ่งหมายถึง มีการเคลื่อนไหวข้อต่อหรือแขนขาด้วย ได้แก่ การยกหรือวางสิ่งของ
  • การออกกำลังกายแบบไอโซคิเนติก (Isokinetic Exercise) เป็นการออกกำลังกาย โดยให้ร่างกายต่อสู้กับแรงต้านทานด้วยความเร็วคงที่ นับเป็นการออกกำลังกายแบบใหม่ เช่น การวิ่งบนลู่กล หรือการขี่จักรยานวัดงาน เป็นต้น
  • การออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Exercise)เป็นการออกกำลังกายโดยใช้พลังงาน ATP ที่สะสมอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ ได้แก่ การออกกำลังกายเบาๆ หรือการออกกำลังกายที่หนักในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น ยกน้ำหนัก วิ่งเร็ว 100 เมตร การฝึกแบบไม่ใช้ออกซิเจนจะใช้วิธีการฝึกน้ำหนักหรือฝึกแบบมีช่วงพักเข้าช่วย ซึ่งโอกาสที่จะทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดมีสูง การอบอุ่นร่างกายจึงมีความสำคัญมากโดยหลัก “FITT” ดังนี้ 

    F = Frequency ความถี่ของการฝึก 2-3 วันต่อสัปดาห์

    I = Intensity ความเข้มของการฝึกประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของ HRmax

    T = Time ระยะเวลาของการฝึกแต่ละครั้ง 3-5 นาที

    T = Type ชนิดของกิจกรรมที่ฝึกควรสอดคล้องกับกีฬาที่เล่น

  • การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Exercise)มักเรียกทับศัพท์ว่า “การออกกำลังกายแบบแอโรบิก” ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ นักวิทยาศาสตร์การกีฬาของไทยได้ใช้คำว่า “อากาศนิยม” เป็นการออกกำลังกายที่ทำให้ร่างกายเพิ่มพูนความสามารถสูงสุดในการรับออกซิเจนทำให้ได้บริหารปอด หัวใจและกล้ามเนื้อเป็นเวลานานพอที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ขึ้นต่อร่างกายด้วยความเร็วต่ำหรือปานกลาง ในระยะเวลาอย่างน้อย 15 นาทีขึ้นไป การออกกำลังกายแบบแอโรบิกนับว่าเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด จะเป็นการออกกำลังกายชนิดใดก็ได้ที่จะกระตุ้นให้หัวใจและปอดต้องทำงานมากขึ้นถึงจุดจุดหนึ่ง และด้วยระยะเวลาหนึ่งซึ่งนานพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง ขี่จักรยาน เดินเร็ว เต้นรำแอโรบิก กรรเชียงเรือ กระโดดเชือก เป็นต้น คำว่า “แอโรบิก” ถูกนำมาใช้ในการออกกำลังกายเมื่อปี ค.ศ. 1968 โดยนายแพทย์คูเปอร์ (Kenneth H. Cooper) และคณะ นายแพทย์คูเปอร์ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อ “Aerobic” ซึ่งได้รับความสนใจมากในระยะนั้น การออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้นร่างกายจะทำงานอย่างต่อเนื่องช้าๆ เป็นเวลานาน และใช้ระยะทางไกล โดยยึดหลัก “FITT” เช่นกัน ดังนี้ 

    F = Frequency ความถี่ของการฝึก 2-3 วันต่อสัปดาห์

    I = Intensity ความเข้มของการฝึก 70-85 เปอร์เซ็นต์ของ HRmax

    T = Time ระยะเวลาของการฝึกแต่ละครั้ง 15-60 นาที หรือมากกว่า

    T = Type ชนิดของกิจกรรมที่ใช้ เช่น ว่ายน้ำ วิ่งเหยาะ เดินเร็ว เต้นรำแอโรบิก ขี่จักรยาน กระโดดเชือก ยกน้ำหนักแบบแอโรบิก เป็นต้น

หลักการฝึกเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

เรามักจะพบคำถามอยู่ 2 คำถามคือ จะออกกำลังกายเท่าไรจึงจะเพียงพอ และจะออกกำลังกายแบบไหนจึงจะพัฒนาสมรรถภาพได้ดีที่สุด มีปัจจัยสำคัญ 4 ประการที่ควรพิจารณาตอบคำถามดังกล่าวคือ

  • ความถี่ของการฝึก ควรฝึกหรือออกกำลังกาย 3-5 วันต่อสัปดาห์ หรือฝึกวันเว้นวันก็ได้
  • ความเข้มของการฝึก การฝึกควรมีความเข้มพอควร โดยให้อัตราการเต้นของหัวใจที่เป็นเป้าหมายอยู่ระหว่าง 60-90 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ (ตรวจสอบโดยการจับชีพจรแทน) ในขึ้นต้นนี้ เราสามารถคำนวณหาอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจได้ โดยใช้สูตร อัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ (HRmax) = 220 – อายุ ในกรณีที่เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้น จะต้องให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 70-85 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ จึงจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ
  • ระยะเวลาของการฝึก (Duration of Training)แบ่งออกได้ดังนี้
    • ระยะเวลาในการฝึกต่อครั้ง การออกกำลังกายที่เข้มและต่อเนื่องควรใช้เวลาระหว่าง 5-30 นาทีต่อวัน แต่ถ้าเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ซึ่งความเข้มจะต่ำหรือปานกลาง จะต้องใช้เวลา 15-60 นาที หรือมากกว่า
    • ระยะเวลาในการฝึกต่อสัปดาห์ จะใช้ 3-5 วันต่อสัปดาห์ หรือฝึกวันเว้นวัน ดังได้กล่าวมาแล้ว สำหรับทีมกรีฑาบางประเภทอาจจำเป็นต้องฝึกทุกวัน โดยเฉพาะประเภทลาน
    • ระยะเวลาในการฝึกทั้งกำหนดการ ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล โดยทั่วไปจะใช้เวลาทั้งกำหนดการอยู่ระหว่าง 8-18 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นการฝึกเพื่อความทนทานหรือกำลัง อาจใช้เวลาฝึกตลอดทั้งปีก็ได้
  • แบบของการออกกำลังกาย (Mode of Exercise) โดยทั่วไปการออกกำลังกายจะต้องคำนึงถึงการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ความต่อเนื่องของกิจกรรม ความเป็นจังหวะ และการใช้ออกซิเจนแบบธรรมชาติ กิจกรรมที่ส่งเสริมลักษณะดังกล่าว ได้แก่ ว่ายน้ำ วิ่งเร็วสลับ วิ่งเหยาะ เดินธรรมดาสลับเดินเร็ว ขี่จักรยาน พายเรือ วิ่งทางไกล กระโดดเชือก รวมถึงการเล่นกีฬาต่างๆ ทุกชนิด

การฝึกแบบต่างๆ เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและเพื่อการแข่งขัน

ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในระยะหลังๆ นี้ จะเห็นว่านักกีฬาสามารถทำลายสถิติเดิมหรือสร้างสถิติใหม่ขึ้นมาในกีฬาหลายประเภท ทั้งนี้เป็นเพราะมนุษย์รู้จักนำเอาหลักทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้นั่นเอง ไม่น้อยกว่า 25 ปีมาแล้ว ได้มีการศึกษาค้นคว้า วิจัยและทดลองเกี่ยวกับการออกกำลังกาย เป็นให้ได้ความรู้หรือทฤษฎีใหม่ๆ ขึ้นมาเกี่ยวกับการออกกำลังกายว่า จะฝึกอย่างไรจึงจะดีที่สุด เพื่อจะได้พัฒนาในด้านสมรรถภาพและประสิทธิภาพทางกีฬา ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะแบบฝึกต่างๆ เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและเพื่อการแข่งขันที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้

  • การฝึกแบบทำซ้ำ (Repetition Training) เป็นการฝึกโดยกำหนดระยะทางและจำนวนเที่ยวที่ฝึกไว้อย่างชัดเจน และมีการพักระหว่างเที่ยวด้วย เช่น วิ่ง 8 x 200 เมตร (หมายถึง วิ่ง 200 เมตร จำนวน 8 เที่ยว) พักระหว่างเที่ยวโดยการวิ่งเหยาะ 90 วินาที หรือวิ่ง 4 x 800 เมตร พักระหว่างเที่ยว 5 นาที เป็นต้น การฝึกแบบทำซ้ำไม่ได้กำหนดความเร็วของแต่ละเที่ยวเอาไว้ ขึ้นอยู่กับตัวผู้ฝึกสอนจะกำหนดเองตามความเหมาะสม หากเป็นการฝึกน้ำหนักจะเป็นการสร้างความแข็งแรงหรือเพาะกายมากกว่า
  • การฝึกแบบมีช่วงพัก (Interval Training)เป็นวิธีการฝึกที่นิยมแพร่หลายมากในสมัยปัจจุบันด้วยการฝึกแบบมีช่วงพักนี่เองที่ทำให้มีการทำลายสถิติกีฬาบ่อยๆ โดยเฉพาะกรีฑา ว่ายน้ำ ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของการฝึกแบบมีช่วงพัก คือ
    • กำหนดอัตราและระยะทางไว้แน่นอน
    • กำหนดจำนวนเที่ยวที่ฝึกไว้แน่นอน
    • กำหนดเวลาที่ใช้ในแต่ละเที่ยวและเวลาที่พักไว้แน่นอน
    • กำหนดกิจกรรมที่จ้องทำขณะพักไว้แน่นอน เช่น เดิน หรือวิ่งเหยาะ เป็นต้น
    • กำหนดความถี่ของการฝึกต่อสัปดาห์และตลอดกำหนดการไว้แน่นอน
  • การฝึกแบบสปีดเอนดูแรนซ์ (Speed Endurance) เป็นการฝึกวิ่งเพื่อเสริมสร้างความทนทานแบบแอโรบิก (Aerobic Endurance) โดยกำหนดระยะทางไว้ไม่ควรเกิน 500 เมตร ใช้ความเร็วประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 4-8 เที่ยว พักระหว่างเที่ยว 5-6 นาที โดยการพักนี้ให้ยึดหลักว่าอย่าให้หายเหนื่อย เพื่อต้องการให้เป็นหนี้ออกซิเจน (Oxygen Debt) แล้วเรื่อมในเที่ยวใหม่ต่อไป
  • การฝึกแบบเทมโป (Tempo)แบ่งออกเป็น 2 แบบย่อย คือ
    • แบบเทมโป เอดูแรนซ์ (Tempo Endurance) โดยกำหนดระยะทางให้มากกว่าที่แข่งขันจริง (ไม่ควรเกิน 5,000 เมตร) ใช้ความเร็วประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 4-8 เที่ยว พักระหว่างเที่ยว 3-6 นาที
    • แบบคอมเพททิทีฟ เพช (Competitive Pace) โดยกำหนดระยะทางให้น้อยกว่าที่แข่งขันจริง ใช้ความเร็วเท่าๆ กับที่แข่งขันจริง จำนวน 3-6 เที่ยว พักระหว่างเที่ยว 8-12 นาที
  • <!–

  • การฝึกระบบธรรมชาติ (Natural System) โดยทั่วไปการออกกำลังกายจะต้องคำนึงถึงการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ คว
  • แบบของการออกกำลังกาย (Mode of Exercise) โดยทั่วไปการออกกำลังกายจะต้องคำนึงถึงการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ คว
  • แบบของการออกกำลังกาย (Mode of Exercise) โดยทั่วไปการออกกำลังกายจะต้องคำนึงถึงการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ คว
  • แบบของการออกกำลังกาย (Mode of Exercise) โดยทั่วไปการออกกำลังกายจะต้องคำนึงถึงการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ คว
  • แบบของการออกกำลังกาย (Mode of Exercise) โดยทั่วไปการออกกำลังกายจะต้องคำนึงถึงการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ คว
  • แบบของการออกกำลังกาย (Mode of Exercise) โดยทั่วไปการออกกำลังกายจะต้องคำนึงถึงการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ คว
  • แบบของการออกกำลังกาย (Mode of Exercise) โดยทั่วไปการออกกำลังกายจะต้องคำนึงถึงการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ คว
  • แบบของการออกกำลังกาย (Mode of Exercise) โดยทั่วไปการออกกำลังกายจะต้องคำนึงถึงการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ คว
  • แบบของการออกกำลังกาย (Mode of Exercise) โดยทั่วไปการออกกำลังกายจะต้องคำนึงถึงการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ คว
  • –>

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กันยายน 29, 2012 นิ้ว ฟุตบอล

 

โรงเรียนบ้านโคกหัวช้าง ชนะเลิศประกวดกระโดเชือกระดับกลุ่มเมือง 6

โรงเรียนบ้านโคกหัวช้าง ชนะเลิศประกวดกระโดเชือกระดับกลุ่มเมือง 6

โรงเรียนบ้านโคกหัวช้างเข้าร้วมการแข่งขันกระโดเชือก 30 คน ที่โรงเรียนชุมชนบ้านหัววัว โดยมีจำนวนทีมเข้าแข่งขัน  ทั้งหมด  12  โรงเรียน  และโรงเรียนบ้านโคกหัวช้าง ได้รับรางวัลชนะเลิศระะดับกลุ่ม  เมือง 6 และรองชนะเลิศเขตสาธารณสุข ที่ 5 นำทีมฝึกซ้อมและเข้าแข่งขัน  โดยครูต๊ะครับ

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กันยายน 29, 2012 นิ้ว ฟุตบอล

 

รูปแบบการฝึกนักกีฬาวอลเล่ย์บอล

สิ่งหนึ่งที่ผู้ฝึกสอนต้องคำนึงถึงเมื่อฝึกเด็กหัดใหม่คือธรรมชาติของผู้ฝึกเลนวอลเลย์บอลจะมีความต้องการเล่นเป็นเกมที่เหหลังจากฝึกทักษะแต่ละอย่างไปแลมือนการแข่งขันมากกว่าฝึกทักษะพื้นฐานต่างๆ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ผู้ฝึกเกิดความเบื่อหน่ายผู้ฝึกสอนสามารถจำลองสถานการณ์เกมการแข่งขันเพื่อใช่ร่วมในการฝึกให้เหมาะกับระดับความสามารถของผู้เริ่มหัดใหม่

ตัวอย่างการนำเกมการแข่งขันมาใช้ร่วมในการฝึก

เกมการขว้างลูกบอลข้ามตาข่าย

วิธีการฝึก

  1. ขนาดสนาม 4.5×18 เมตร
  2. เกม 1×1 ใช้การโยนบอลข้ามตาข่ายไปยังฝั่งคู่ต่อสู้ อีกฝ่ายจะรับลูกบอลและโยนกลับโดยไม่ให้ลูกบอลตกพื้น
  3. เกม 2×2 ใช้หลักการเดียวกันเมื่อรับบอลแล้วให้โยนบอลให้เพื่อนโยนกลับไปยังแดนของคู่ต่อสู้

เกมนี้ใช้วิธีการฝึกโดยใช้การโยนบอลรับบอลข้ามตาข่าย เช่นเดียวกับเกมวอลเลย์บอลจริง เป็นการฝึกสร้างความคุ้นเคยกับลูกบอลในสถานการณ์การแข่งขัน

ส่งบอลข้ามตาข่าย

วิธีฝึกที่ 1

  1. แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย ส่งบอลข้ามตาข่ายด้วยทักษะการส่งบอลด้วยมือล่าง โดยปล่อยให้ลูกบอลกระดอนพื้นก่อน 1 ครั้งแล้วส่งลูกกลับไปยังฝั่งคู่ต่อสู้จากนั้นไปต่อท้ายแถว
  2. ผู้ฝึกสอนสามารถกำหนดวิธีการเล่นโดยอาจใช้การเล่นลูกมือล่างหรือมือบนก็ได้

วิธีฝึกที่ 2

ฝึกเช่นเดียวกับวิธีที่ 1 แต่ไม่ต้องปล่อยให้ลูกบอลกระดอนพื้นก่อน

เกม 3×3

วิธีเล่น

  1. แบ่งสนามเป็น 4 ส่วน
  2. ผู้เล่นฝ่ายละ 3 คนส่งบอลข้ามตาข่ายโดนเริ่มเล่นด้วยการเสริฟลูกมือล่าง
  3. การส่งบอลกลับสามารถปล่อยลูกบอลกระดอนพื้น 1 ครั้งหรือไม่ก็ได้
  4. เปลี่ยนการแข่งขันจากแนวตรงเป็นแนวทแยง

เคลื่อนที่ส่งบอล

วิธีเล่น

  1. ใช้การเสริฟด้วยมือล่าง ก่อนส่งบอลข้ามตาข่ายแต่ละฝ่ายสามารถเล่นบอลได้ 2-3 ครั้งก่อนส่งบอลไปยังฝ่ายตรงข้าม

เกมวอลเลย์บอล

เช่นเดียวกับวิธีในข้อ 1 แต่เพิ่มคะแนนเป็น 2 คะแนนหากผู้เล่นส่งบอลข้ามไปยังฝ่ายตรงข้ามด้วยวิธีกระโดดหรือตบ

วิธีการฝึกเด็กหัดเล่นวอลเลย์บอลทั้งหมด 6 ตอนที่ได้นำเสนอไปนั้นผู้ฝึกสอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามแนวทางของแต่ละท่านให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของเด็ก ๆ ที่ท่านจะฝึก

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กันยายน 1, 2012 นิ้ว ฟุตบอล

 

สวัสดีชาวสุขศึกษาและพลศึกษาทุกคน

ผู้เขียนขอสรุป  จรรยาบรรณพลศึกษา  ในความคิดเห็นของผู้เขียนดังนี้

  1. ด้านการมีความรับผิดชอบ  การที่นักพลศึกษามีความรับผิดชอบนั้น  เขาจะต้องแสดง

พฤติกรรมให้เห็นว่าเขามีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำงาน  หรือปฏิบัติหน้าที่ที่เขาได้รับมอบหมายด้วยความผูกพัน  ด้วยความบากบั่นพากเพียรและยอมรับผลในการปฏิบัติหน้าที่นั้นให้สำเร็จตามความมุ่งหมาย  และในขณะเดียวกันก็จะพยายามปรับปรุงงานในหน้าที่นั้นให้ดียิ่งขึ้นด้วย  ตัวอย่างเช่น  การปฏิบัติหน้าที่ในการสอน

              1.1 นักพลศึกษาจะมีใจรักและผูกพันในการสอน  เข้าสอนตามเวลาที่กำหนดเอาใจใส่ในการสอน  เพื่อให้การสอนได้บรรลุตามความมุ่งหมายโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก

1.2  นักพลศึกษาจะอุทิศกำลังกายและกำลังใจเพื่อให้การสอนได้เป็นไปอย่างมี

ประสิทธิภาพ

               1.3 นักพลศึกษาจะปฏิบัติหน้าที่การสอน  ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การสอนโดยไม่คำนึงถึงผล ประโยชน์ส่วนตัว

               1.4 นักพลศึกษาจะเตรียมการสอน  ดำเนินการสอน  ปรับปรุงการสอนและแก้ปัญหาการสอนด้วยความสุขุมรอบคอบ  เพื่อให้การสอนได้บรรลุผลอย่างแท้จริง

               1.5 นักพลศึกษาจะยอมรับผลในการสอนของตนเองด้วยความเต็มใจ  แม้ว่าผลการสอนนั้นจะเป็นไปในลักษะใดก็ตาม

ฯลฯ

          2. ด้านการมีความใฝ่รู้  เนื่องจากความรู้และความคิดต่าง ๆ ในด้านการพลศึกษาและวิชาการที่เกี่ยวข้องนั้นมักจะมีการเปลี่ยนแปลงและค้นพบอยู่เสมอ  ฉะนั้น  นักพลศึกษาที่ดีไม่ว่าจะทำหน้าที่เป็นผู้บริหาร  นักวิชาการ  ครู  อาจารย์  ศึกษานิเทศก์  หรือหน้าที่อื่นใดก็ตาม  จะต้องเป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้เพื่อนำความรู้ใหม่ ๆ มาปรับปรุงตนเองและการงานในอาชีพของตนให้ได้ผลดี  ทันกับเหตุการณ์ในปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา  พฤติกรรมที่นักพลศึกษาแสดงออกว่าเป็นผู้ใฝ่รู้นั้นอาจจะสังเกตเห็นได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

              2.1 นักพลศึกษาจะศึกษาหาความรู้ในวิชาพลศึกษาหรือที่เกี่ยวข้องด้วยการอ่าน  การเขียน  และการฟังด้วยความอยากรู้อยากเห็นเป็นประจำ

               2.2 นักพลศึกษาจะหาข้อมูล  วิเคราะห์  วิจารณ์  และหาข้อสรุปเกี่ยวกับข่าวสาร  หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงและเสนอแนะให้การทำงานได้ผลดียิ่งขึ้น

               2.3 นักพลศึกษาจะใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือหรือศึกษาค้นคว้าเป็นประจำ

               2.4 นักพลศึกษาจะรับฟังการอภิปราย  การบรรยาย  หรือการชี้แจงเกี่ยวกับความรู้และความคิดใหม่ ๆ ด้วยความจดจ่อควบคู่ไปกับการพินิจพิจารณาในสิ่งที่ได้ยินหรือฟังมานั้น

               2.5 นักพลศึกษาจะใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์  คือการกำหนดปัญญา  การแสวงหาความรู้  หรือสัจจธรรมทางพลศึกษา ฯลฯ

 

          3. การมีความขยันหมั่นเพียร  การที่นักพลศึกษามีจริยธรรมในด้านความขยันหมั่นเพียรนั้น  คือ  เขาจะแสดงพฤติกรรมให้เห็นว่า  เขามีความกระตือรือร้น  พอใจ  จดจ่อและพากเพียรในการที่จะทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดให้สำเร็จลุล่วงและได้ผลดี  ในกรณีที่เป็นผู้สอนวิชาพลศึกษา   เขาจะแสดงพฤติกรรมที่พอจะนำมาเป็นตัวอย่างได้ดังนี้คือ

             3.1 นักพลศึกษาจะเตรียมตัวและเตรียมบทเรียนให้พร้อมที่จะเข้าสอนได้ตามเวลาที่กำหนด

             3.2 นักพลศึกษาจะจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการสอนให้พร้อมและเพียงพอ

             3.3 นักพลศึกษาช่วยเหลือนักเรียน  เอาใจใส่ต่อนักเรียนอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา

             3.4 นักพลศึกษาจะมีความกระตือรือร้น  และรักที่จะสอนและช่วยเหลือนักเรียนทั้งในและนอกเวลา

             3.5 นักพลศึกษาจะประเมินผลการสอนของตนเอง  และการเรียนของนักเรียนเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะ ฯลฯ

          4. ด้านการมีความเมตตากรุณา  ความเมตตากรุณาถือเป็นจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งอันหนึ่งที่จะทำให้นักพลศึกษาเป็นผู้ที่น่ารัก  น่าเคารพนับถือ  และน่าเลื่อมใสมากยิ่งขึ้น  พฤติกรรมที่จะแสดงให้เห็นว่านักพลศึกษาเป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณานั้น  คือการที่เขาแสดงพฤติกรรมในความรักใคร่  ต้องการให้เพื่อนเป็นสุข  และมีความสงสารอยากจะให้เพื่อนพ้นทุกข์  จะดูจาก

ตัวอย่างการแสดงออกดังนี้คือ

             4.1 นักพลศึกษาจะช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานเป็นประจำและสม่ำเสมอ  โดยไม่ต้องขอร้องหรือหวังผลตอบแทนอย่างหนึ่งอย่างใด

             4.2 นักพลศึกษาจะมีโอภาปราศรัย  พูดจาไพเราะ  สุภาพ  อ่อนน้อม  กับเพื่อนร่วมงานหรือบุคคลอื่น ๆ ทุกคน

             4.3 นักพลศึกษาจะแสดงความยินดีในความสำเร็จ  หรือในความสุขของเพื่อนร่วมงาน  หรือบุคคลอื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ

             4.4 นักพลศึกษาจะเสียสละและแบ่งปันสิ่งของของตนให้แก่เพื่อน  หรือผู้ที่มีความจำเป็น  หรือขาดแคลนกว่าตามควรแก่กรณี ฯลฯ

          5. การมีสติสัมปชัญญะหรือการรู้จักยับยั้งชั่งใจ  เป็นจริยธรรมที่นักพลศึกษาแสดงให้เห็นว่าตนเองเป็นผู้ที่มีความพร้อม  มีความตื่นตัวอย่างฉับไวในการที่จะบังคับจิตใจของตนเองให้มีการ   ตัดสินใจจากการรับรู้ต่าง ๆ ให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร  พฤติกรรมที่จะช่วยให้เห็นว่านักพลศึกษามีสติสัมปชัญญะนั้น  อาจจะสังเกตได้จากพฤติกรรมที่เป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้คือ

             5.1 นักพลศึกษาจะสำนึกในคุณและโทษ  หรือในข้อดีและข้อเสียของการแสดงออกของตนเองตลอดเวลา

             5.2 นักพลศึกษาจะพิจารณาใตร่ตรองคิดถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ

 

             5.3 เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ๆ จะเป็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่หรือปัญหาส่วนตัว  นักพลศึกษาจะควบคุมอารมณ์หรือความคิดตนเอง  เพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหานั้น ๆ ตามลำดับขั้นตอนด้วยความสุขุมรอบคอบ

             5.4 นักพลศึกษาจะยึดมั่นในอุดมคติของความดีงามและความถูกต้องเป็นปรัชญา

ประจำตัว

             5.5 นักพลศึกษาจะไม่ปล่อยกายและใจเป็นทาสของสิ่งมัวเมาหรือสินจ้างรางวัลอื่นใด

          6. การมีความเสียสละ  การที่นักพลศึกษาเป็นผู้มีความเสียสละนั้น  เขาจะแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นผู้รู้จักให้ปันแก่เพื่อนคนอื่นที่ควรให้  ซึ่งอาจจะเป็นด้านกำลัง  กำลังทรัพย์  สิ่งของ  กำลังสติปัญญาโดยไม่เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว  นักพลศึกษาที่มีจริยธรรมทางด้านการเสียสละนั้น  อาจจะสังเกตได้จากพฤติกรรมตัวอย่างเช่น

             6.1 นักพลศึกษาจะช่วยเหลือเพื่อนครูด้วยกันด้วยความเต็มใจ  โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากของตนเอง

             6.2 นักพลศึกษาจะแนะนำและทำอุปกรณ์การสอนให้เพื่อนครูด้วยความเต็มใจ

             6.3 นักพลศึกษาจะหาทางแก้ไขปัญหาการสอนของเพื่อนที่กำลังประสบอยู่  เพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

             6.4 นักพลศึกษาจะบริจาคเงินรายได้ของตนเองเพื่อเป็นทุนในการสนับสนุนการเรียนของนักเรียน

             6.5 นักพลศึกษาจะมีความยินดีกับเพื่อนครู  เมื่อสามารถสอนนักเรียนได้รับผลดีเป็นที่

ชมเชยของผู้บริหาร ฯลฯ

          7. การมีระเบียบวินัย  การที่นักพลศึกษาเป็นผู้มีระเบียบวินัยนั้นเขาจะทำตัวให้เห็นว่าเขาสามารถที่จะควบคุมตนเอง  ให้มีความประพฤติและปฏิบัติในขอบข่ายของสิ่งที่ดีงามของกิริยามารยาท  กฎข้อบังคับ  กฎหมายและศีลธรรมจรรยา  ตัวอย่างของพฤติกรรมของนักพลศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นผู้มีระเบียบวินัยคือ

             7.1  นักพลศึกษาปฏิบัติตนและทำตนตามอุดมคติของการพลศึกษา  เช่น  ออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพของตนเองเป็นประจำวันทุกวัน

             7.2 นักพลศึกษาแต่งกายสะอาดเรียบร้อยเป็นตัวอย่างแก่นักเรียนและบุคคลอื่น

             7.3 นักพลศึกษาจะส่งนักเรียนเข้าแข่งขันกีฬาตามคุณสมบัติของนักกีฬาที่กติกาได้วางไว้

             7.4 นักพลศึกษาจะเป็นตัวอย่างเพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียน

             7.5 นักพลศึกษาจะเป็นตัวอย่างเพื่อให้นักเรียนได้เล่นและดูกีฬาตามอุดมคติของการกีฬา ฯลฯ

          8. การมีหิริโอตัปปะ  จริยธรรมในด้านนี้คือ  การที่นักพลศึกษามีความเกรงกลัว  มีความละอาย  และละเว้นต่อการกระทำความชั่วหรือการกระทำบาปทั้งในทางกาย  ใจ  และวาจา  ไม่ว่าจะมีใครรู้ใครพบเห็นหรือไม่ก็ตาม  โดยจะพยายามควบคุมทั้งกาย  วาจาและใจ  ให้อยู่ในทำนองคลองธรรมที่ดีงาม  ตัวอย่างของพฤติกรรมของนักพลศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นผู้ที่มีหิริโอตตัปปะคือ

             8.1 นักพลศึกษาไม่แอบอ้างหรือเอาผลงานทางวิชาการหรืออื่นใดของผู้อื่น  มาเป็นผลงานของตนและเพื่อประโยชน์ของตน

             8.2 นักพลศึกษาไม่แอบอ้างว่ามีความรู้ความสามารถในสิ่งที่ตนเองไม่ได้รู้หรือไม่ได้เรียนมาจริง

             8.3 นักพลศึกษาไม่แอบอ้างหรือทำในสิ่งที่ตนเองไม่รู้หรือไม่ได้เรียนมา

             8.4 นักพลศึกษาไม่แอบอ้างวิชาชีพพลศึกษาเพื่อประโยชน์ส่วนตนในทางมิชอบ

             8.5 นักพลศึกษาไม่แอบอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬาในเมื่อตนเองไม่ได้ปฏิบัติตามกฎและระเบียบข้อบังคับของการกีฬา

             8.6 นักพลศึกษาจะไม่แอบอ้างว่าตนเองรักและมีศรัทธาในวิชาชีพพลศึกษา  และจะปรับปรุงการพลศึกษาให้ดีในเมื่อตนเองไม่สนใจที่จะศึกษาหาความรู้  หรือศึกษาต่อในทางพลศึกษา ฯลฯ

          9. การมีความสามัคคี  การที่นักพลศึกษามีจริยธรรมทางด้านความสามัคคีนั้น  เขาจะกระทำตนให้เห็นว่าเขาเป็นคนหนึ่งที่จะให้ความร่วมมือและมีความพร้อมเพรียงกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับบุคคลอื่น ๆ  โดยเห็นประโยชน์ส่วนรวมสำคัญมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว  เพื่อให้งานที่มีอยู่ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  ตัวอย่างพฤติกรรมที่นักพลศึกษาแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นผู้ที่มีความสามัคคีนั้นคือ

             9.1 นักพลศึกษาจะช่วยงานของโรงเรียนโดยส่วนรวมด้วยความเต็มใจและไม่มีการขอร้อง

             9.2 นักพลศึกษาจะมีความเข้าใจในเพื่อนร่วมงานทุกคนไม่แบ่งแยกพวกเขา

             9.3 นักพลศึกษาจะมีความรักความเอ็นดู  ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันในทางที่ไม่ผิดศีลธรรม

             9.4 นักพลศึกษาจะร่วมมือกัน  ประสานงานกัน  ทำงานร่วมกันตามกำลังความสามารถ

             9.5 นักพลศึกษาจะพยายามศึกษาและปรับตนเองให้เข้ากับผู้อื่น  ฯลฯ

          10. การรู้จักประหยัด  การที่นักพลศึกษามีจริยธรรมในด้านการรู้จักประหยัดนั้น  เขาจะกระทำตนให้เห็นว่าเขาสามารถจับจ่ายสิ่งของให้พอเหมาะพอควรตามที่เป็นจริงที่มีอยู่  โดยจะระมัดระวังควบคุมและยับยั้งความต้องการให้อยู่ในขอบเขตหรือความสามารถของตนเอง  ตัวอย่างพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่านักพลศึกษารู้จักประหยัดนั้นคือ

               10.1 นักพลศึกษาจะจับจ่ายใช้สอยเงินทองเฉพาะที่จำเป็น  และให้ได้สัดส่วนกับกำลังความสามารถและรายได้ของตน

               10.2 นักพลศึกษาจะระมัดระวังและควบคุมความต้องการให้เหมาะสม  และพอควรกับอัตภาพของตน

               10.3 นักพลศึกษาจะจัดแบ่งเวลาให้ได้สัดส่วนกับกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ

               10.4 นักพลศึกษาจะบูรณะสถานที่และอุปกรณ์พลศึกษาที่มีอยู่เพื่อให้สามารถใช้ได้  และเป็นประโยชน์แก่นักเรียนให้นานที่สุดที่จะนานได้

               10.5 นักพลศึกษาจะมีบัญชีควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณของโรงเรียนให้เป็นประโยชน์แก่นักเรียนให้มากที่สุด  ฯลฯ

          11. การมีความยุติธรรม  การที่นักพลศึกษามีความยุติธรรมนั้นคือ  การที่เขาได้ปฏิบัติหน้าที่ของเขาด้วยความเที่ยงตรง  สอดคล้องกับความจริงและเหตุผลโดยไม่ลำเอียง  เพราะความรักใคร่  ความเกลียด  ความกลัวและความหลง  ตัวอย่างพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่านักพลศึกษามีความ

ยุติธรรม  เช่น

               11.1 นักพลศึกษาจัดสถานที่ให้แก่นักเรียนได้เล่นอย่างทั่วถึงกันโดยไม่ลำเอียง

               11.2 นักพลศึกษาจัดอุปกรณ์ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมพลศึกษาอย่างทั่วถึงกันโดยไม่ลำเอียง

               11.3 นักพลศึกษาจัดให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬาตามระดับความสามารถ

               11.4 นักพลศึกษาจัดให้นักเรียนได้รับความช่วยเหลือในด้านการเรียนการสอนจากครูอย่างทั่วถึงกัน

               11.5 นักพลศึกษาให้คะแนนนักเรียนตามระดับความสามารถของนักเรียนตามที่เป็นจริง

          12. การมีความอุตสาหะ   การที่นักพลศึกษามีจริยธรรมในด้านความอุตสาหะนี้นั้น  เขาจะแสดงตนให้เห็นว่าเขามีจิตใจหมายมั่น  เข้มแข็งในการที่จะทำงานในหน้าที่ของเขาให้สำเร็จลุล่วง

เช่น

               12.1 นักพลศึกษาได้พยายามสอนนักเรียนที่มีความประพฤติไม่ดีวันแล้ววันเล่า  จนนักเรียนคนนั้นมีความประพฤติดี  เป็นที่รักของครูและเพื่อนนักเรียนได้

               12.2 นักพลศึกษาได้พยายามสอนนักเรียนที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาวันแล้ววันเล่า  จนกลายเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬาและเล่นกีฬาเป็นที่รักของเพื่อนทุกคน

               12.3 นักพลศึกษาได้พร่ำสอนนักเรียนที่เล่นกีฬาไม่เป็นจนกระทั่งเล่นกีฬาเป็น  สามารถนำกีฬาไปเล่นในเวลาว่างด้วยความสนุกสนาน

               12.4 นักพลศึกษาพร่ำสอนและตักเตือนเพื่อนนักพลศึกษาด้วยกันวันแล้ววันเล่า  เพื่อให้กลับตัวเป็นนักพลศึกษาที่ดี  และเป็นที่รักของเพื่อนครูและนักเรียนโดยทั่วไป

               12.5 นักพลศึกษาได้พยายามใช้เวลาหลังโรงเรียนเลิกเพื่อเรียนต่อ  เพื่อให้สำเร็จปริญญาโท  สาขาพลศึกษา  ภายในกำหนด  3  ปี  ตามที่ได้คาดไว้  ฯลฯ

          13. การรู้จักมีเหตุและผล  การที่นักพลศึกษาจะมีจริยธรรมในด้านการมีเหตุและผลนั้น  คือ การที่เขาสามารถแสดงตนให้เห็นว่า  เขาจะใช้ปัญญา  ความคิด  พิจารณาไตร่ตรองพิสูจน์ให้ประจักษ์ในเหตุและผลในการประพฤติตนหรือการปฏิบัติงานต่าง ๆ  ไม่ปล่อยให้ความหลงงมงาย ความเขลา  ความเกลียด  ความกลัว  หรือความอวิชชาทั้งหลายทั้งปวงครอบงำหรือพาให้หลงผิด  ตัวอย่างพฤติกรรมของนักพลศึกษาที่แสดงให้เห็นว่ามีจริยธรรมในด้านนี้  เช่น

               13.1 นักพลศึกษาหาความรู้หรือศึกษาต่อเพิ่มเติมในสาขาพลศึกษา  เพราะว่าตนเองมีหน้าที่รับผิดชอบทางด้านพลศึกษา

               13.2 นักพลศึกษาจะทำหน้าที่ปรับปรุงการเรียนการสอนหรือหลักสูตรวิชาพลศึกษา  เพาะว่าตนเองมีความรู้และเคยได้ศึกษาวิชาหลักสูตรและการสอนพลศึกษามาแล้ว

               13.3 นักพลศึกษาจะทำหน้าที่บริหารพลศึกษา  เพราะว่าตนเองได้ผ่านการเรียนทางด้านการบริหารพลศึกษา  และมีประสบการณ์ในด้านนี้มาแล้ว

               13.4 นักพลศึกษามีจะเลือกสอนในด้านใด  เพราะว่าตนเองเคยได้ศึกษา    และมีประสบการณ์ในวิชานั้นเป็นอย่างดีมาแล้ว

               13.5 นักพลศึกษาที่สอนนิสิตหรือนักศึกษาในระดับใด  เพราะว่าตนเองได้รับการฝึกฝนและเตรียมมาเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการสอนในระดับนั้นเป็นอย่างดีแล้ว

               13.6 นักพลศึกษาที่จะทำหน้าที่แนะนำ  ช่วยเหลือหรือนิเทศทางด้านพลศึกษา  เพราะว่ามีความรู้ทางพลศึกษาเป็นอย่างดีควบคู่กันกับหลักการนิเทศทางพลศึกษาด้วยแล้ว  ฯลฯ

          14. ความกตัญญูกตเวที  การที่นักพลศึกษามีจริยธรรมในด้านกตัญญูกตเวทีนั้น  เขาจะต้องแสดงให้เห็นว่า  เขาเป็นผู้มีความรู้สึกสำนึกในการอุปการะคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นมีต่อเขา  แล้วเขาก็แสดงออกด้วยการตอบแทนบุญคุณนั้น  ตัวอย่างพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่า

นักพลศึกษาคนนั้นเป็นผู้มีจริยธรรมในด้านนี้  เช่น

               14.1 นักพลศึกษาจะรู้สึกและสำนึกในบุญคุณของวิชาชีพพลศึกษา

               14.2 นักพลศึกษาจะพยายามตอบแทนบุญคุณของวิชาชีพพลศึกษา

               14.3 นักพลศึกษาจะพยายามทำตนให้เป็นประโยชน์แก่วิชาพลศึกษาให้มากที่สุด 

เท่าที่จะทำได้

               14.4 นักพลศึกษาจะพยายามเชิดหน้าชูตาวิชาชีพพลศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้าให้มากที่สุด

               14.5 นักพลศึกษาจะไม่ลบหลู่ดูหมิ่นวิชาชีพพลศึกษา

               14.6 นักพลศึกษาที่มีอาชีพหรือความรับผิดชอบทางพลศึกษาจะศึกษาหาความรู้หรือศึกษาต่อในทางพลศึกษา

               14.7 นักพลศึกษาจะสำนึกและระลึกถึงบุญคุณผู้ที่เคยได้ทำประโยชน์แก่วิชาชีพ

พลศึกษา

               14.8 นักพลศึกษาจะพยายามหาทางตอบแทนบุญคุณผู้ที่เคยทำประโยชน์แก่วิชาชีพ พลศึกษา

          เมื่อสรุปได้ส่วนรวมแล้วจะเห็นได้ว่า  ถ้าหากว่านักพลศึกษาเป็นผู้ที่มีจรรยาบรรณอย่างน้อยที่สุดในด้านต่าง ๆ 14 ด้าน  ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้  นอกจากว่าจะช่วยนักพลศึกษาจะเป็นผู้มีความงามทั้งกาย  วาจาและใจ  เป็นที่น่ารัก  น่านับถือเลื่อมใสในบุคคลทั่วไปที่ได้พบเห็นและรู้จักแล้ว  ยังจะช่วยให้การปฏิบัติงานในวิชาชีพพลศึกษาได้ผลดียิ่งขึ้น  และเป็นประโยชน์แก่สังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย

 

ความหมายของจรรยาบรรณ

          “จรรยาบรรณ”  (Code  of  Protessional  Ethics)  คือประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษาส่งเสริมเกียรติคุณ  ชื่อเสียง  และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้  (พจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.  2525 : 213)

          จรรยาบรรณ  คือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานพฤติกรรมของบุคคลในแต่ละอาชีพ  ซึ่งเขามีความผูกพันอยู่  เพื่อนร่วมงาน  นายจ้าง  บุคคลอื่นในชุมชนและสังคมโดยรวม  นอกจากนั้น

จรรยาบรรณยังรวมถึงมาตรฐานพฤติกรรมด้านศีลธรรมที่ควบคุมความประพฤติของแต่ละบุคคลที่มีความเชื่อมโยงกับสถานภาพ  (Status)  และยึดแบบอย่างเพื่อประกอบอาชีพของบุคคล  (พระเมธี  ธรรมมาภรณ์  (ประยูรมีฤกษ์.  2537 : 30)

          จรรยาบรรณ  คือประมวลความประพฤติเพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและส่งเสริมชื่อเสียงเกียรติคุณ  เกียรติฐานะ  อันจะยังผลให้ผู้ประพฤติเป็นที่เลื่อมใส  ศรัทธาและยกย่องของบุคคลทั่วไป  (สำนักงาน ก.พ.,  2537 : 1)

          จรรยา  เป็นเรื่องของอารยชนที่เจริญในคุณธรรมและมีสติปัญญาพิจารณาตระหนักในความศักดิ์สิทธิ์เที่ยงแท้ของกฎธรรมชาติ  อันเป็นสิทธิพื้นฐานของชีวิต  เกิดมโนธรรม  รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพในสิทธิพื้นฐานนั้น  หรือกล่าวได้ว่า  จรรยาเป็นเรื่องของความสำนึกในธรรมสาระที่มนุษย์พึงมีต่อกัน  และมิได้หมายถึงการปรับตัวต่อกัน  เพียงเพื่อความอยู่รอดและการสืบพันธุ์  อันเป็นธรรมชาติพื้นฐานของสัตว์ทั่ว ๆ ไป

          จรรยา  เป็นเรื่องของการใช้เหตุผลวิเคราะห์ปัญหาทางปรัชญา  (Philosophical  Problems)  เพื่อวินิจฉัยได้อย่างเที่ยงธรรมว่า  การกระทำต่อกันของมนุษย์  ความมุ่งหมาย  เจตคติ   หรือสภาวะการณ์สังคมต่าง ๆ มีความถูกต้องดีอย่างไรหรือไม่  จรรยาเป็นปรัชญาทางธรรม

          ดังนั้น  จรรยาบรรณพลศึกษาจึงหมายถึง  ประมวลความประพฤติเพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรี และส่งเสริมชื่อเสียงเกียรติคุณ  เกียรติฐานของพลศึกษา  อันจะยังผลให้ผู้ประพฤติเป็นที่เลื่อมใส  ศรัทธา  และยกย่องของบุคคลทั่วไป

          จรรยาบรรณพลศึกษา  กำหนดขึ้นไว้เพื่อเหตุผลดังต่อไปนี้

  1. ให้นักพลศึกษาประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ให้นักพลศึกษามีความดีงาม  มีจริยธรรมที่ดี
  3. ให้นักพลศึกษามีเกียรติและศักดิ์ศรี

 

ความสำคัญของจรรยาบรรณพลศึกษา

          จรรยาบรรณวิชาชีพในทุกสาขาอาชีพ  มีความสำคัญยิ่ง  เพราะเป็นแนวทางกำหนดความประพฤติเพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรี  และส่งเสริมชื่อเสียงเกียรติคุณของผู้ประกอบวิชาชีพให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทและยกย่องแก่บุคคลทั่วไป  ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรก็ควรมีหลักการหรือแนวทางปฏิบัติในรูปของจรรยาบรรณ  เพื่อเป็นเครื่องชี้นำหรือใช้ประกอบในการประพฤติปฏิบัติตนไปสู่ความสำเร็จแห่งอาชีพนั้น ๆ ความสำคัญของจรรยาบรรณมีดังต่อไปนี้คือ  (ชำเลือง  วุฒิจันทร์.  2524 : 131) 

 

ความสำคัญของจรรยาบรรณ

          กรมศาสนา  (2522 : 86 – 96)  ได้ให้ความสำคัญของจรรยาบรรณว่าดังนี้

          1. จรรยาบรรณช่วยควบคุมมาตรฐาน  รับประกันคุณภาพและปริมาณที่ถูกต้องในการประกอบอาชีพในกาาผลิตและการค้า

  1. จรรยาบรรณช่วยควบคุมจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพและผู้ผลิต
  2. จรรยาบรรณช่วยส่งเสริมมาตรฐานคุณธรรมและปริมาณที่ดี  มีคุณค่าและเผยแพร่ให้

รู้จักเป็นที่นิยมเชื่อถือ

  1. จรรยาบรรณช่วยส่งเสริมจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพและผู้ผลิต
  2. จรรยาบรรณช่วยลดปัญหาอาชญากรรม  ลดปัญหาการคดโกง  ฉ้อฉล  เอารัดเอา

เอาเปรียบ  ลดการปลอดปนเห็นแก่ตัวและเห็นแก่ได้  ตลอดจนความมักได้  มักง่าย  ความใจแคบ  ไม่ยอมเสียสละ  ฯลฯ

  1. จรรยาบรรณช่วยเน้นให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นในภาพพจน์ที่ดีของผู้มีคุณธรรม
  2. จรรยาบรรณช่วยทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิตามกฎหมาย  สำหรับผู้ประกอบอาชีพให้เป็นไป

ถูกต้องตามทำนองครองธรรม

 

การสร้างจรรยาบรรณครู

          สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  (2531 : 10 – 14)  มีขั้นตอนในการดำเนินงาน  3  ขั้นตอน  คือ

          1. การกำหนดจรรยาบรรณ  อันได้แก่  การกำหนดจรรยาบรรณมีอะไรบ้าง  ซึ่งดำเนินการโดยการประชุมสมาชิกครู  หรือประชุมผู้แทนของสมาชิกครูในกรณีที่มีสมาชิกจำนวนมาก  หรือไม่สะดวกที่จะประชุมกันทั้งหมด

          2. การสร้างการยอมรับในจรรยาบรรณ  อันได้แก่ให้สมาชิกทุกคนได้ยอมรับในจรรยาบรรณเพื่อเป็นแบบแผนที่จะต้องยึดถือ  ปฏิบัติ  การสร้างการยอมรับในจรรยาบรรณอาจทำได้โดยประชุมชี้แจงให้ทราบ  การออกเป็นระเบียบ  คำสั่ง  และการกล่าวคำปฏิญาณ  ซึ่งหากจะให้ได้ผลดีแล้วควรจะกระทำทั้งใน  3  ทักษะ  นั่นก็คือ  ออกเป็นระเบียบหรือคำสั่ง  การแจ้งให้ทราบทั่วกันและการให้สมาชิกกล่าวคำปฏิญาณ

          3. การส่งเสริมจรรยาบรรณ  อันได้แก่  การที่กลุ่มวิชาชีพ  (หรือชมรม)  หรือหน่วยงานจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ในลักษณะที่ส่งเสริมให้สมาชิกปฏิบัติตามจรรยาบรรณ  เช่น  การควบคุมดูแลและการประเมินจรรยาบรรณ  การกำหนดให้รักษาจรรยาบรรณเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการประเมินผลการปฏิบัติงาน

          สำหรับจรรยาบรรณของนักพลศึกษานั้น  วรศักดิ์  เพียรชอบ  (อ้างใน  คณะศึกษาศาสตร์,  2534)  ได้เสนอหลักการประพฤติและปฏิบัติตนในสิ่งที่ดีงาม  หรือในสิ่งที่สังคมยอมรับทั้งกาย  วาจาและใจ  ไว้  13  ประการ ดังนี้

  1. การมีความรับผิดชอบ
  2. การมีความใฝ่รู้
  3. การมีความขยันหมั่นเพียร
  4. การมีความเมตตากรุณา
  5. การมีสติสัมปชัญญะ  หรือการรู้จักยับยั้งชั่งใจ
  6. การมีความเสียสละ
  7. การมีระเบียบวินัย
  8. การมีหิริโอตัปปะ  หรือการมีความเกรงกลัว  หรือละอายต่อบาป  หรือการกระทำชั่ว
  9. การมีความสามัคคี
  10. การรู้จักประหยัด
  11. การมีความอุตสาหะ
  12. การรู้จักเหตุและผล
  13. การมีความกตัญญูกตเวที

 

นอกจากจะมีจริยธรรมนักพลศึกษา  ให้นักพลศึกษาได้ยึดปฏิบัติแล้ว  ก็ยังมีจรรยาบรรณ

พลศึกษา  ซึ่ง  ปรีชา  กลิ่นรัตน์ (ปรีชา  กลิ่นรัตน์.  2526 :    )  ได้รวบรวมไว้เพื่อเป็น  จรรยาครูพลศึกษา  เสมือนเป็นกรอบของวิชาชีพดังนี้

          1. ครูพลศึกษาจะต้องยอมรับและปฏิบัติตามจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู

          2. ครูพลศึกษาจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบที่จะจัดโครงการ  เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  และสังคมของนักเรียน

          3. เด็กนักเรียนทุกคนมีสิทธิ์อย่างเท่าเทียมกันที่ได้รับการสอนและประสบการณ์จาก

ครูพลศึกษา

  1. ไม่เอาเรื่องส่วนตัวของครูคนอื่น  บุคลากรในโรงเรียนหรือนักเรียนมาเปิดเผย
  2. อย่าให้ความเป็นกันเองของครูพลศึกษาที่มีต่อนักเรียน  มาเป็นอุปสรรคต่อการสอนและ

และการปรกครอง

  1. ครูพลศึกษาต้องเป็นตัวอย่างที่ดีกับนักเรียน
  2. เพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพสูงสุด  ครูพลศึกษาควรมีความสัมพันธ์กับครูอื่น ๆ  มี

ความนับถือและเข้าใจซึ่งกันและกัน

  1. ครูพลศึกษาต้องเสียสละ  อดทน  และร่วมกับโรงเรียนในทุกด้านอย่างไม่เห็นแก่

เหน็ดเหนื่อย  เพื่อความสำเร็จทางการศึกษา

          9. ครูพลศึกษาต้องมีเทคนิควิธีการทำงานและจัดการเรียนการสอนพลศึกษาอย่างถูกต้อง  ไม่ควรกระทำการใดเป็นการข้ามหน้าข้ามตาผู้อื่น เพื่อผลประโยชน์ในการทำงานและการสอนตนเอง

          10. ครูพลศึกษาต้องมีหน้าที่ศึกษาหาความรู้ใส่ตัวอยู่เสมอ  เพื่อปรับปรุงตนและพัฒนาวิชาชีพ  ให้ดียิ่งขึ้น

          11. มุ่งทำหน้าที่ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

12. ครูพลศึกษาต้องไม่ไปทำผลประโยชน์ให้ตนเกี่ยวกับการค้าขาย  วัสดุอุปกรณ์ทาง

พลศึกษา  และอื่น ๆ

  1. เป็นหน้าที่ของครูพลศึกษาที่จะต้องมีส่วนร่วมและรับใช้ชุมชนและสังคม  โดยเฉพาะ

กิจกรรมที่ทำให้ชุมชนและสังคมน่าอยู่มากขึ้น

  1. ครูพลศึกษาต้องเป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพและร่วมกันทำให้วิชาชีพก้าวหน้า
  2. สถาบันที่ผลิตครูพลศึกษา  มีหน้าที่ร่วมรับผิดชอบทำให้จรรยาบรรณวิชาชีพสูงขึ้น
  3. ครูพลศึกษาต้องพยายามชักชวนและส่งเสริมเยาวชนทั้งชายและหญิง  ให้เรียนรู้ฝึกฝน

ร่างกายให้เข้มแข็งสมบูรณ์  และมีความมั่นใจ  เพื่อเข้าสู่วิชาชีพและจรรยาวิชาชีพสืบไป

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กันยายน 1, 2012 นิ้ว ฟุตบอล

 

สโมสรฟุตบอลของ ครูต๊ะ

สโมสรฟุตบอลค KRUTA . FC

อาจเป็นรูปภาพของ 13 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 6 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 3 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 5 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 12 คน
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
อาจเป็นรูปภาพของ 11 คนอาจเป็นรูปภาพของ 19 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
อาจเป็นรูปภาพของ 18 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 16 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 5 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 4 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 12 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 4 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 16 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 12 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 9 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 18 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 5 คน และ ผู้คนกำลังยิ้ม
อาจเป็นรูปภาพของ 11 คน และ ผู้คนกำลังยิ้ม
 
1 ความเห็น

Posted by บน สิงหาคม 28, 2012 นิ้ว ฟุตบอล